วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ภาคผนวก

วิชานี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี


ต้นผกากรอง





วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การใช้สมุนไพรจากต้นผกากรอง




วิธีใช้สมุนไพรผกากรอง
1.การใช้รากตาม และให้ใช้รากแห้งครั้งละ 15-35 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน ถ้าเป็นรากสดให้ใช้ครั้งละ 35-70 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน
2.การใช้ใบตาม  ให้ใช้ใบสดประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม หากใช้ภายนอกให้นำมาตำพอกหรือคั้นเอาแต่น้ำผสมกับเหล้าเป็นยาทา หรือจะนำไปต้มกับน้ำใช้ชะล้างบริเวณที่เป็นก็ได้แก้หิด (ใบ)
3.การใช้ดอกตาม ให้ใช้ดอกแห้งประมาณ 6-10 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่มแก้หิด (ใบ)

ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรผกากรอง
1.สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้
2.ผกากรองเป็นพืชมีพิษ การนำไปใช้เป็นยาสมุนไพร ควรใช้อย่างระมัดระวัง
3.ใบผกากรองมีสารเป็นพิษคือสาร Lantanin สารชนิดนี้เป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงมาก โดยเฉพาะสัตว์จำพวกแพะและแกะ โดยพิษของผกากรองจะส่งผลต่อระบบประสาทและต่อตับ เมื่อสัตว์เลี้ยงกินเข้าไปมากๆ จะทำให้ถึงตาย

4.สารพิษจากผกากรองที่นำไปใช้เป็นยาฆ่าแมลงในแปลงผัก อาจตกค้างและเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้ ฉะนั้นควรใช้ด้วยความระมัดระวัง และควรเว้นระยะปลอดภัยก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิตด้วย


ที่มา : http://frynn.com/

การดูแลรักษาต้นผกากรอง








การดูแลรักษา  ต้นผกากรองเป็นพรรณไม้ที่ชอบแสงแดดจัด สามารถปลูกได้ในดินทุกชนิด ต้องการน้ำน้อย หากท่านใดที่ไม่ค่อยมีเวลาดูแลรดน้ำต้นไม้ แนะนำว่าควรปลูกต้นผกากรอง นอกจากนี้หากต้องการเร่งใบสามารถใส่ปุ๋ยที่โคนต้นได้.





ที่มา : http://www.decorreport.com/

อาการและการรักษาพิษของต้นผกากรอง






อาการพิษ
คนที่ได้รับพิษจากผกากรองมักไม่แสดงอาการพิษทันที แต่จะเกิดขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปแล้ว 2-3 ชั่วโมง อาการพิษที่เกิดขึ้นได้แก่ อาเจียน ท้องเสีย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ขาดออกซิเจน หายใจช้าและลำบาก รูม่านตาขยาย  กลัวแสง กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน โคม่า และการตอบสนองของกล้ามเนื้อ ถูกกด ( ส่วนอาการพิษที่เกิดขึ้นในสัตว์ มีพิษกึ่งเฉียบพลันในสัตว์ทดลองที่กินใบผกากรอง คือ ซึม ไม่อยากอาหาร ท้องผูก ปัสสาวะบ่อย หลังจากนี้1-2 วัน จะพบอาการเหลือง และขาดน้ำตามเนื้อเยื่อเมือก กล้ามเนื้ออักเสบ ตาอักเสบ ผิวหนังไวต่อแสง ทำให้กล้ามเนื้ออักเสบที่เรียกว่า pink nose เจ็บ อาการอักเสบนี้อาจลุกลามไปถึงโพรงจมูก ตา ปาก เกิดเป็นแผลบวม ปลายจมูกแข็ง หนังตาบวม หูหนาและแตก คันหน้าจนสัตว์เลี้ยง ถูบ่อยทำให้เป็นแผลหรือตาบอดได้ โดยมากได้รับพิษประมาณ 1-4 อาทิตย์อาจตายได้เนื่องจากไตล้มเหลว ปัสสาวะไม่หยุด อดอาหาร ขาดน้ำ ไม่มีการขับถ่าย มีปริมาณ billirubin สูงในเลือด จึงเหลือง เอ็นไซม์จากตับก็สูง แสดงว่ามีการอักเสบของตับ เมื่อชัณสูตรซากสัตว์ก็พบว่ามีอาการ ดีซ่าน ตับบวม ถุงน้ำดีโต เนื่องจาก ผนังบวม ไตเหลือง บวม ฉ่ำน้ำ และลำไส้ใหญ่ไม่เคลื่อนไหว   พิษเรื้อรังในสัตว์ที่เกิดขึ้นตามมานอกจากทำ ให้เกิดอาการแพ้แสงแดดของผิวหนังแล้ว จะมีการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังอื่นๆ เช่น ผิวหนังบริเวณปากหรือจมูก หู คอ ไหล่ ขา และส่วนอื่นๆ อาจเป็นสีเหลือง บวม แข็ง แตก และเจ็บ ผิวหนังลอกและเปิด อาจเกิดการอักเสบไปจนถึงเยื่อบุผิวเมือกบริเวณใกล้เคียง ซึ่งอาการเยื่อบุตา อักเสบอาจพบเห็นเป็นบางครั้งในระยะที่ได้รับพิษเฉียบพลัน และอาจมีผลกระทบต่อผิวหนัง เยื่อบุรอบๆตา และที่ตาด้วย
สรุปแล้วอาการพิษที่เกิดขึ้นกับสัตว์สามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะคือ
ระยะแรก เกี่ยวข้องกับการปลดปล่อย และการดูดซึมของสารพิษจากทางเดินอาหาร
 ระยะที่สอง เกิดขึ้นที่ตับ มีอาการตับแข็ง bilirubin และ phylloerythrin สูงในเลือด
 ระยะสุดท้าย เกี่ยวข้องกับเนื้อเยื่อที่ได้รับบาดเจ็บเนื่องจากมี ปริมาณของ bilirubin และ phylloerythrin สูงเกิน  อาการพิษของสัตว์เกิดขึ้นแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปริมาณของพืชพิษที่สัตว์กินเข้าไป

การรักษา
 การรักษาอาการพิษในคน หากพึ่งรับประทานไปไม่เกิน 30 นาทีแรก ให้รับประทาน syrup of ipecac เพื่ออาเจียนเอาเศษชิ้นส่วนของพืชออกมา โดยผู้ใหญ่รับประทาน 2 ช้อนโต๊ะ และเด็กอายุ 1-12 ปี รับประทาน 1 ช้อนโต๊ะ หากไม่ได้ผลให้ทำการล้างท้อง ยกเว้นในเด็กที่ได้รับพิษเกินกว่า 3 ชั่วโมง อาจล้างท้องไม่ได้ผล จึงควรให้ยา coticosteroids, adrenaline ให้ออกซิเจน และรักษาตามอาการ   การรักษาอาการพิษในสัตว์เลี้ยง สัตว์เลี้ยงที่สงสัยว่าได้รับพิษจากผกากรอง ให้แยกออกจากบริเวณที่มีต้นผกากรองอยู่ ฤทธิ์ของผกากรอง ภายหลังการรับประทานเข้าไปจะไปทำให้กระเพาะของสัตว์หยุดการเคลื่อนไหวจึงเป็นสาเหตุให้สารพิษเหลืออยู่ในกระเพาะและดูดซึมอย่างต่อ
             เนื่อง การแก้พิษโดยป้องกันไม่ให้พิษมีการดูดซึมเพิ่มขึ้นไปอีก โดยให้ผงถ่าน ในปริมาณสูงร่วมกับสารละลายอิเลกโตรไลท์เพื่อไปกระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวของกระเพาะ และทำให้ของเหลวกลับเข้าสู่ร่างกาย นอกจากนี้ควรรักษาอาการแพ้แสงแดดของผิวหนังด้วย



ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/113517

ประโยชน์ของผกากรอง






 1.ประโยชน์หลักๆ ของผกากรอง คือ การนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ ปลูกเป็นกลุ่มเพื่อประดับตามสถานที่ต่างๆ กลางแจ้ง เช่น ตามทางเดิม ริมถนน ริมทะเล ริมน้ำตก ลำธาร ฯลฯ หรือใช้ปลูกเพื่อตกแต่งตามแนวรั้วได้เป็นอย่างดี เพราะให้ดอกที่มีสีสันสดใสได้ตลอดทั้งปี ปลูกเลี้ยงดูแลได้ง่าย มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมและโรคหรือแมลงต่างๆ ได้ดีมาก และในปัจจุบันผกากรองก็มีสีสันของดอกที่หลากหลายมากกว่าแต่ก่อน จึงมีการนำมาปลูกประดับตามสถานที่ต่างๆ หรือปลูกไว้ในกระถางกันมากขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งยังทนทานต่อการตัดแต่งและดันทรง ทนต่อความแห้งแล้ง ดินเลว จึงเหมาะสำหรับปลูกในกระถางเพื่อทำไม้ดัดเป็นรูปทรงต่างๆ หรือไม้แคระ (บอนไซ)
2.ผกากรองเป็นพืชที่ออกดอกดกเป็นช่อตลอดทั้งปี จึงเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของแมลงต่างๆ เช่น ผีเสื้อและผึ้ง
3.เนื่องจากใบผกากรองมีกลิ่นฉุน และมีสารพิษที่เป็นพิษต่อระบบประสาทของแมลงจำพวกหนอนกระทู้ในแปลงผักที่ชื่อว่า แลนทานิน (Lantanin) จึงมีการนำมาใช้เป็นสมุนไพรสำหรับฆ่าและขับไล่แมลงศัตรูพืช โดยวิธีการเตรียมและใช้ผกากรองเป็นสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช วิธีแรกให้ใช้เมล็ดผกากรองบด 1 กิโลกรัม ผสมกับน้ำ 2 ลิตร และให้แช่ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง แล้วนำมาใช้ฉีดพ่นเพื่อฆ่าหนอนกระทู้ในแปลงผัด ส่วนอีกวิธีให้ใช้ใบและดอกสดบดละเอียด


ที่มา : http://frynn.com/

สรรพคุณของผกากรอง


1.รากมีสรรพคุณช่วยแก้อาการปวดศีรษะ
2.รากแห้งนำมาต้มกับน้ำดื่ม จะช่วยแก้อาการเวียนศีรษะจากอากาศที่ร้อนอบอ้าวได้ (ราก)
3.ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง
4.ใช้แก้เด็กซึมเซา ง่วงนอนเสมอ ด้วยการใช้ดอกผกากรอง แห้งหนัก 1 บาท ผสมกับดอกทานตะวันแห้ง 1 ดอก นำมาต้มกับน้ำสะอาด แล้วนำมาดื่ม
5.ช่วยแก้อาการปวดฟัน ด้วยการใช้รากสดนำมาต้มเอาน้ำอมบ้วนปาก จะช่วยแก้อาการปวดฟันได้
6.ช่วยแก้คางทูม ด้วยการใช้ผกากรองแห้ง หนัก 4 บาท นำมาต้มกับน้ำเป็นยาดื่ม
7.รากมีรสจืดขม ใช้เป็นยาแก้ไข้เรื้อรัง แก้หวัด ไข้สูง แก้ไข้หวัดตัวร้อน หวัดใหญ่ ด้วยการใช้รากแห้ง หนัก 4 บาท นำมาต้มกับน้ำเป็นยาดื่ม (รากตำรับยาจีนจะใช้รากผกากรองสด, กังบ๊วยกึง, ซึ่งปัวจิ้กึง หนักอย่างละ 35 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน
8.ช่วยทำให้อาเจียน
9.ช่วยแก้อาการเจียนเป็นเลือด
10.ช่วยแก้วัณโรค วัณโรคปอด ด้วยการใช้ดอกแห้ง หนัก 1 บาท นำมาต้มกับน้ำดื่ม
11.ช่วยแก้ติดเชื้อวัณโรคที่ต่อมทอนซิล
12.ช่วยแก้หืด
13.ช่วยขับลม ขับลมชื้น
14.ดอกใช้เป็นยาแก้อาการปวดท้องอาเจียน ด้วยการใช้ดอกผกากรองสด หนัก 1 บาท นำมาต้มกับน้ำสะอาด ใส่เกลือเล็กน้อย แล้วนำมาใช้ดื่มเป็นยา
15.ช่วยแก้อาการปวดกระเพาะ
16.ใบมีคุณสมบัติห้ามเลือดและช่วยรักษาแผลสดได้ เราจะใช้ใบมาตำหรือขยี้ให้ช้ำแล้วมาพอกบริเวณ17.บาดแผลสด อีกทั้งยังมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรคได้ด้วย
18ใบและกานใช้เป็นยาภายนอก รักษาโรคผิวหนัง ฝีหนอง โดยนำใบและก้านมาตำแล้วพอก หรือนำมาต้มกับน้ำใช้ล้างแผลหรือบริเวณที่เป็น
19ใบใช้ตำพอกแผล ฝีพุพองเป็นหนอง แก้ผดผื่นคันที่เกิดขึ้นจากหิด
20.ตำรับยาแก้ผดผื่นคัน จะใช้ใบผกากรองแห้ง, ใบสะระแหน่, ใบสนแผง, ต้นกะเม็ง, โซวเฮียะ หนักอย่างละ 35 กรัม นำมารวมกันบดเป็นยาผง ใช้ผสมกับเหล้าทาบริเวณที่เป็นวันละ 3 ครั้ง
21.รากมีสรรพคุณแก้โรคผิวหนังผื่นคัน แก้อาการคัน แก้อาการปวดแสบปวดร้อนทางผิวหนังที่เกิดจากการเป็นฝี
22.ดอกใช้เป็นยาแก้อักเสบ
23.รากใช้เป็นยาดับพิษแก้บวม
24.ใบมีรสขมเย็น ใช้ใบสดนำมาโขลกให้ละเอียดแล้วนำมาพอกแก้ปวด แก้บวม พอกรักษาฝีถอนพิษ และรักษาแผลฟกช้ำได้ (ใบ) ส่วนรากและดอกก็มีสรรพคุณช่วยแก้รอยฟกช้ำ แก้อาการฟกช้ำดำเขียวที่เกิดจากการกระทบกระแทกได้เช่นกัน
25.แก้โรคปวดตามข้อ ด้วยการใช้ใบนำมาต้มกับน้ำ ผสมกับน้ำอาบ หรือทำเป็นลูกประคบพื้นบ้านในเกาะชวาของอินโดนีเซีย จะใช้ผกากรองมาปรุงเป็นยารักษาโรคไขข้ออักเสบ 25ช่วยแก้อาการปวดเอ็น ด้วยการใช้ดอกสดนำมาตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำ แล้วนำมาทา ส่วนกากที่เหลือให้นำมาพอกบริเวณที่เป็นแล้วเอาผ้ารัดไว้

ที่มา : http://frynn.com/


ลักษณะของต้นผกากรอง


ต้นผกากรอง มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอเมริกาและแอฟริกาเขตร้อนและภายหลังได้มีการแพร่ขยายไปทั่วโลกในเขตร้อน แต่ไม่มีหลักฐานว่าเข้ามาในไทยเมื่อใด แต่สันนิษฐานว่าคงเข้ามาในช่วงกรุงรัตโกสินทร์นี้เองโดยจัดเป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อยขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามาก ทำให้ทรงพุ่มมีลักษณะค่อนข้างกลม ใบขึ้นดกหนา ตามลำต้นเป็นร่องมีหนามเล็กน้อย เมื่อขยี้ดมจะมีกลิ่นเหม็น ทั่วทั้งต้นมีมีขนปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด และวิธีการปักชำ (ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการปักชำ เพราะสะดวกและรวดเร็วกว่า) ผกากรองเป็นพรรณไม้ดอกกลางแจ้งที่มีอายุหลายปี ชอบแสงแดดจัด ควรได้รับแสงแดดอย่างพอเพียง ชอบสภาพค่อนข้างแห้งแล้ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทรายและระบายน้ำได้ดีมากกว่าดินชุ่มชื้นหรือดินเหนียว จึงจัดเป็นพืชที่มีความแข็งแรงทนทานมาก หลายๆ แห่งถือว่ามันเป็นวัชพืชชนิดหนึ่ง เพราะสามารถขึ้นและขยายพันธุ์ได้ดีตามธรรมชาติ จึงมักพับขึ้นตามป่าละเมาะที่ค่อนข้างโปร่งและแห้งแล้ง


ใบผกากรอง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่สีเขียวเข้ม ปลายใบแหลม ส่วนขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-9 เซนติเมตร ผิวใบด้านบนหยาบ ผิวใบด้านบนและด้านล่างมีขนปกคลุมเล็กน้อย เมื่อลูบจะรู้สึกระคายมือ เส้นใบมีลักษณะย่น ก้านใบยาวประมาณ 1 เซนติเมตร



ดอกผกากรอง ออกดอกเป็นช่อคล้ายซี่ร่ม โดยจะออกตามง่ามใบหรือส่วนยอดของกิ่ง ขนาดช่อดอกกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร ประกอบไปด้วยดอกหลายสิบดอก (ช่อละประมาณ 20-25 ดอก) ก้านช่อดอกยาวประมาณ 4-10 เซนติเมตร ดอกย่อยมีขนาดเล็กเป็นรูปกรวย มีกลิ่นฉุน กลีบดอกบานออกเป็นกลีบ 4 กลีบ มีขนาดประมาณ 0.5 เซนติเมตร ดอกจะทยอยบานจากด้านนอกเข้าไปในช่อดอก ดอกมีเกสรเพศผู้อยู่กลางดอก 4 อัน อยู่ติดกับกลีบดอก ดอกมีหลายสี เช่น สีขาว (ผกากรอง), สีเหลือง (ผกากรองเหลือง), สีแดง (ข้าวเหนียวหน้ากุ้ง), และยังมีสีแสด, สีชมพู, และหลายสีในช่อดอกเดียวกัน เป็นต้น (แต่ในปัจจุบันมีการผสมพันธุ์จนเกิดสีผสมใหม่มากขึ้นเรื่อยๆ และขนาดของดอกหรือช่อดอกก็โตขึ้นด้วย) และยังสามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี หากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม




ผลผกากรอง  ผลจะพบบริเวณในดอก ลักษณะของผลเป็นรูปกลม ออกผลเป็นกลุ่มหรือเป็นพวง เป็นผลสดแบบมีเนื้อ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 มิลลิเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เนื้อนิ่ม เมื่อสุกแล้วจะเป็นสีม่วงดำ ภายในผลมีเมล็ด 2 เมล็ด


 ที่มา : http://frynn.com/